องค์ความรู้

ล้างการค้นหา

image
Sept. 18, 2024

เจ้าของผลงาน: ผศ.ดร.วีระศักดิ์ พุทธาศรี และคณะ

วัตถุประสงค์การศึกษานี้เพื่อศึกษารูปแบบการดำเนินงานในการขับเคลื่อนการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยศึกษาจากการดำเนินการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในพื้นที่ศึกษา จำนวน 12 แห่ง โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการทบทวนเอกสาร การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง(purposive sampling) จากผู้มีส่วนร่วมในกระบวนการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ศึกษา ซึ่งครอบคลุมบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นักวิชาการและหน่วยงานภาครัฐซึ่งเป็นกลไกสนับสนุน และประชาชนที่เข้าร่วมกระบวนการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ จำนวน 156 คน ผลการศึกษาพบว่า 1) ประเด็นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเลือกดำเนินการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ แตกต่างกันไปตามบริบทของแต่ละพื้นที่ เช่น การจัดการขยะ การจัดการน้ำเสีย การดูแลผู้สูงอายุ และการท่องเที่ยวชุมชน เป็นต้น โดยแนวทางการพิจารณาเลือกประเด็นในพื้นที่นั้น ประกอบด้วย นโยบายการพัฒนาของท้องถิ่น ข้อมูลทางวิชาการที่แสดงถึงปัญหาสำคัญของพื้นที่ และข้อเรียกร้องหรือข้อร้องเรียนจากประชาชนเกี่ยวกับประเด็นที่เป็นปัญหาในพื้นที่ 2) รูปแบบการดำเนินการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วยการดำเนินงานใน 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การเตรียมความพร้อม การปรึกษาหารือกับผู้บริหาร การมอบหมายผู้ปฏิบัติงานหลัก และการแต่งตั้งคณะทำงานประเมินผลกระทบด้านสุขภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงการให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ การสร้างเป้าหมายร่วม และการวางแผนดำเนินงาน ระยะที่ 2 ปฏิบัติการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ ซึ่งดำเนินการ 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนกลั่นกรองนโยบายและแผนงาน ขั้นตอนที่ 2 กำหนดขอบเขต ขั้นตอนที่ 3 ประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนย่อยได้แก่ การศึกษารวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลในการประเมินผลกระทบ การพัฒนาข้อเสนอ และการจัดทำรายงาน ขั้นตอนที่ 4 ทบทวนร่างรายงาน ซึ่งเปิดโอกาสให้กลไกที่เกี่ยวข้องและสาธารณะ ได้พิจารณาผลการประเมินผลกระทบและข้อเสนอเชิงนโยบาย เพื่อให้ข้อเสนอแนะและให้ข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อการปรับปรุงรายงานให้สมบูรณ์ ขั้นตอนที่ 5 ผลักดันเข้าสู่การตัดสินใจ ระยะที่ 3 การขับเคลื่อนและติดตามประเมินผล โดยให้ความสำคัญกับการสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของกลไกการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงภาคีเครือข่ายในพื้นที่ ร่วมกันศึกษาข้อมูลและพัฒนาข้อเสนอที่จะร่วมกันขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติเพื่อการพัฒนาหรือการแก้ปัญหาของพื้นที่ ซึ่งเป็นการสนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายพลเมืองตื่นรู้ และการเสริมพลังเครือข่าย ให้เกิดภาวะผู้นำแบบกลุ่ม รวมถึงการสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมในข้อเสนอเชิงนโยบายที่ได้ ซึ่งจะนำไปสู่การร่วมกันขับเคลื่อนให้เกิดความยั่งยืนต่อไปในอนาคต 3) การสนับสนุนศักยภาพในการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีการดำเนินงานใน 3 รูปแบบ ได้แก่ 1) การเรียนรู้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเน้นการ ศักยภาพกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่ม ผ่านการจัดหลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการ ที่ถูกออกแบบให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่ม โดยมีทั้งการเรียนภาคทฤษฎี และปฏิบัติการในพื้นที่ ซึ่งเป็นการเรียนรู้ผ่านกรณีศึกษา โดยมีศูนย์วิชาการ HIA เป็นพี่เลี้ยง 2) การเรียนรู้เชิงรุกในพื้นที่ปฏิบัติการ เป็นการศักยภาพโดยบูรณาการการเรียนรู้ภาคทฤษฎีและฝึกปฏิบัติในพื้นที่ปฏิบัติการร่วมกัน เป็นลักษณะการฝึกปฏิบัติในงาน เรียนรู้ไปพร้อมกับการลงมือปฏิบัติ โดยการเรียนรู้กระบวนการทำงานทางวิชาการในการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ และพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการพัฒนาการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปพร้อมกัน และ 3) การเรียนรู้แบบสร้างพลังร่วม เป็นการพัฒนาศักยภาพโดยบูรณาการการเรียนรู้ภาคทฤษฎีและฝึกปฏิบัติในพื้นที่จริง มี “พื้นที่เรียนรู้กลาง” เป็นเวทีในการนำเสนอผลการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอน มีกลุ่มเครือข่ายที่ร่วมกระบวนการในพื้นที่คอยสนับสนุนให้ข้อเสนอแนะซึ่งกันและกัน และมีศูนย์วิชาการฯเป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำ ทั้งนี้ การพัฒนาศักยภาพทั้ง 3 รูปแบบของการเรียนรู้การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ เป็นการผสมผสานรูปแบบการเรียนรู้ตามแนวคิดการบูรณาการการเรียนรู้ภาคทฤษฎีและมีการฝึกปฏิบัติในพื้นที่จริง โดยมีนักวิชาการจากศูนย์วิชาการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพระดับภาค เป็นพี่เลี้ยงในการให้คำแนะนำในแต่ละกระบวนการ ซึ่งการเลือกใช้วิธีการพัฒนาศักยภาพในรูปแบบที่เหมาะสม ขึ้นอยู่กับบริบทพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประเด็น รวมถึงกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง 4) ปัจจัยความสำเร็จในการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ (1) การมีเป้าหมายร่วมของทีมงานและเครือข่ายที่เข้มแข็ง (2) การสนับสนุนจากผู้บริหารท้องถิ่น และมีผู้ปฏิบัติงานหลักที่มีศักยภาพ (3) การมีพี่เลี้ยงทางด้านวิชาการที่เข้มแข็งและการเข้าถึงข้อมูลและหลักฐานที่มีคุณภาพ (4) การบูรณาการงบประมาณจากแหล่งทุน (5) การขยายผลสู่การขับเคลื่อนผ่านกลไกเหมาะสม 5) ข้อท้าทายที่สำคัญ ได้แก่ (1) การผลักดันให้กลไกที่เกี่ยวข้องเห็นความสำคัญ (2) ความต่อเนื่องยั่งยืนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองท้องถิ่น (3) การสร้างเครือข่ายกลไกสนับสนุนที่เข้มแข็งและมีศักยภาพ (4) การพัฒนาข้อเสนอแนะจากการทำ HIA ที่เป็นรูปธรรม และสามารถนำไปขับเคลื่อนได้จริง (5) การทำงานในประเด็นนโยบายที่ข้ามขอบเขตพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละแห่ง ความรู้ที่ได้จากการศึกษานี้จะเป็นประโยชน์ต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ ในการนำไปเป็นแนวทางการดำเนินงานในการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพในพื้นที่ และเป็นแนวทางการดำเนินงานให้กับสถาบันการศึกษาและนักวิชาการหรือนักวิจัย ที่มีความสนใจในการศึกษาวิจัยโดยใช้เครื่องมือการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพเป็นแนวทาง หรืออาจนำไปประยุกต์ใช้ในการสร้างเครือข่ายการทำงานข้ามภาคส่วน เพื่อการดำเนินกิจกรรมสาธารณะในด้านอื่นๆ ได้เช่นกัน นอกจากนี้ยังเป็นแนวทางการดำเนินงานที่สำคัญ ให้กับสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ในการพัฒนาระบบและกลไกการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเครือข่ายอื่นๆ ในระยะต่อไป
อ่านเพิ่มเติม »
image
Sept. 18, 2024

เจ้าของผลงาน: สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

อ่านเพิ่มเติม »
image
July 8, 2024

เจ้าของผลงาน: -

ผลการดำเนินงานการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพในประเทศไทย โดยแบ่งเป็นกลุ่มประเด็นต่างๆ อาทิ เกษตรและอาหาร, เหมืองแร่, การส่งเสริมและป้องกันโรค, ขยะ, พลังงาน, สิ่งแวดล้อม, อุตสาหกรรม, และอื่นๆ
อ่านเพิ่มเติม »